วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

มัทนะพาธา


มัทนะพาธา


         มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีประเภท “บทละครพูด” พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6ด้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า “เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์”ด้วยการเลือกถ้อยคำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ดีเยี่ยม

         ที่เลือกศึกษาวรรณคดีนี้ก็เพราะเนื้อหาน่าสนใจ สื่อแนวความรักที่โศกนาฏกรรม จบแบบไม่สวย จึงอยากติดตาม จะว่าที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ก็ว่าได้

          ความเป็นมา : มัทนะพาธา แปลว่า “ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะความรัก”
บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา หรือ ตำนานดอกกุหลาบ มีลักษณะเป็นบทละครพูดคำฉันท์ จำนวน ๕ องค์ (ตอน) แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน เป็นบทพระราชนิพนธ์จากจินตนาการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
          นางเอกของเรื่องมีนามว่า “มัทนา”ซึ่งมีความหมายว่า “ความลุ่มหลง หรือความรัก”แทนคำว่า “กุพชกะ” ที่แปลว่าดอกกุหลาบ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๖๖ ณ พระราชวังพญาไท และเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ปีเดียวกัน ( ๑ เดือน ๑๖ วัน ) เมื่อพระราชนิพนธ์เสร็จก็พระราชทานแก่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีพระวรชายา 


ติดตามเนื้อเรื่องได้เร็วๆนี้ ..... ฝากติดตามด้วยนร้าา ฝันดีค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น